วันอาทิตย์ที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

มารู้จัก ชิโน-โปรตุกีส กันเถอะ (Sino-portuguese)


ประวัติความเป็นมา
สถาปัตยกรรม ชิโน-โปรตุกีส” (sino-Portuguese Architecture) ถือเกิดขึ้นในดินแดนแหลมมลายูในยุคสมัยแห่งจักรวรรดินิยมของตะวันตก เมื่อประมาณปี พ.ศ. ๒๐๕๔ ชาวโปรตุเกสได้เข้ามาตั้งถิ่นฐานและทำการค้าบริเวณเมืองท่ามะละกา และได้นำเอาศิลปวัฒนธรรม ตลอดจนวิทยาการตะวันตกเข้ามาเผยแพร่ด้วยเช่นกัน ซึ่งในช่วงเวลาที่ชาวโปรตุเกสอาศัยอยู่นั้น ก็ได้สร้างบ้านเรือนที่พักอาศัยไว้ ด้วยการออกแบบสถาปัตยกรรมตามความรู้และประสบการณ์ของตน ทำให้ผลงานสถาปัตยกรรมเหล่านั้นมีรูปแบบแนวตะวันตก

ในขณะเดียวกันนั้นเองได้ให้ช่างชาวจีนนำแบบแปลนของบ้านเรือนนั้นไปดำเนินการก่อสร้าง แต่ด้วยความรู้และประสบการณ์ประกอบกับความเชื่อที่สืบเนื่องมาจากบริบททางสังคมของช่างชาวจีน ทำให้ผลงานการก่อสร้างอาคารบ้านเรือนเพี้ยนไปจากแบบแปลนที่ชาวโปรตุเกสได้วางไว้ โดยช่างชาวจีนได้ตกแต่งลวดลายสัญลักษณ์รวมถึงลักษณะรูปแบบบางส่วนของตัวอาคารตามคติความเชื่อของจีน เกิดการผสมผสานกันระหว่างสถาปัตยกรรมโปรตุเกสและจีน เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวขึ้นท่ามกลางสังคมของกลุ่มชน ๓ เชื้อชาติ อันได้แก่โปรตุเกส จีน และมาเลย์ ในดินแดนแหลมมลายูตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา  ต่อมาเมื่อชาวดัตช์และอังกฤษเข้ามามีอิทธิพลในดินแดนแถบนี้ ก็ได้ปรับปรุงรูปแบบของอาคารดังกล่าว โดยดัดแปลงและสอดแทรกรูปแบบ รวมไปถึงลวดลายต่างๆ เพิ่มเติมลงไปในการก่อสร้างตามแบบของตน และก็มีชื่อเรียกลักษณะการก่อสร้างอาคารเหล่านี้ว่า สถาปัตยกรรม ชิโน-โปรตุกีส
คำว่า ชิโนหมายถึงคนจีน และคำว่า โปรตุกีสหมายถึง โปรตุเกส แม้ว่าอังกฤษและดัตช์จะเข้ามามีอิทธิพลในการผสมผสานศิลปะของตนเข้าไปในยุคหลังด้วยก็ตาม ซึ่งการก่อสร้างบ้านเรือนในรูปแบบนี้ได้แพร่หลายไปยังดินแดนต่างๆ ในแหลมมลายู สามารถพบเห็นได้หลายที่ ไม่ว่าจะเป็นเมืองมะละกา เมืองปีนัง ประเทศมาเลเซีย สิงคโปร์ หรือมาเก๊า รวมไปถึงประเทศไทย

ถ้าจำแนกสถาปัตยกรรมที่มีคุณค่าของภูเก็ตออกเป็นยุคนั้น ก็สามารถแบ่งออกมาได้ 3 ยุค คือ ยุคแรก ประมาณช่วง พ.ศ. 2411 - 2443 เป็นช่วงของการเริ่มพัฒนาเมือง ยุคที่สอง พ.ศ. 2444 - 2475 เป็นช่วงของการผสมผสานรูปแบบสถาปัตยกรรมเอเชียกับยุโรป และยุคที่ 3 พ.ศ. 2476 - 2499 เป็นช่วงของสถาปัตยกรรมสมัยใหม่หรือยุคโมเดิร์น อาคาร 3 ยุคนี้ ได้กลายเป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่มีเอกลักษณ์ของเมืองภูเก็ต ซึ่งชาวภูเก็ตตั้งใจจะรักษาให้คงอยู่สืบไป

ยุคแรก
   เป็นช่วงที่มีการก่อตั้งเมืองภูเก็ตปัจจุบัน ซึ่งเดิมเรียกว่า ทุ่งคา เป็นพื้นที่ที่มีแหล่งแร่ดีบุกมากจึงมีการตั้งถิ่นฐานกันมากขึ้น อาคารในยุคนี้มักเป็นอาคารแบบตึกแถวชั้นเดียวหรือสองชั้น โครงสร้างเป็นปูนหรือดินผสมฟาง โครงหลังคาและประตูหน้าต่างเป็นไม้ ไม่มีการตกแต่งอาคารมากนัก รูปแบบอาคารมักเป็นไปตามวัฒนธรรมของผู้อาศัย ซึ่งได้แก่ ชาวจีนเป็นหลัก และที่สำคัญ คือมีการเว้นที่ว่างด้านหน้าเป็นช่องทางเดินมีหลังคาคลุมหรือที่เรียกว่า "อาเขต" หรือในภาษาถิ่น เรียกว่า "หง่อคาขี่่" (Koh kaki แปลว่า ทางเดินกว้าง 5 ฟุตจีน) อาคารในยุคนี้ปัจจุบันเหลืออยู่น้อยมากแล้วในภูเก็ต

ยุคที่สอง
   เป็นช่วงที่การค้าขายแร่ดีบุกเฟื่องฟู ในขณะเดียวกันก็มีการติดต่อค้าขายกับเมืองปีนังมากขึ้น ซึ่งอังกฤษได้เข้ามาปกครองปีนังและสิงคโปร์ และได้นำรูปแบบสถาปัตยกรรมที่เป็นที่นิยมในยุโรปช่วงนั้น คือ นีโอคลาสสิก และเรอเนอซองส์ มาใช้กับการสร้างสรรค์อาคารราชการ ซึ่งในเวลาต่อมาได้ส่งผลถึงอาคารของเอกชนและภูเก็ตก็ได้รับอิทธิพลเช่นเดียวกัน ลักษณะคืออาคารก่ออิฐถือปูนใช้ผนังหนารับน้ำหนัก รูปแบบ การตกแต่งแบบนิโอคลาสสิกจะพบในชั้นบนของตึกแถว และคฤหาสน์แบบฝรั่งที่เรียกว่า อังม้อหลาว โดยมีการตกแต่งด้วยเสาอิงแบบคลาสสิก หน้าต่างแบบฝรั่งเศสคือ ยาวถึงพื้น มีบานเกล็ดไม้แบบปรับได้ มักทำเป็นสามช่วง ช่องแสงเหนือหน้าต่างเป็นรูปโค้ง มีการตกแต่งผนังด้วยลวดลายปูนปั้นเป็นรูปสัตว์หรือดอกไม้ ส่วนชั้นล่างมักมีการตกแต่งประตูหน้าต่างแบบจีน มีการแกะสลักไม้ด้วยลวดลายของจีนเป็นรูปสัตว์ ดอกไม้ เครื่องตกแต่งที่เป็นมงคล ในอาคารตึกแถวยังยึดถือการมีช่องทางเดินหรือหง่อคาขี่ไว้เพื่อกันแดดกันฝนแก่คนเดินถนนเหมือนในยุคแรก

ยุคที่สาม
   เป็นช่วงหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองที่เกิดขึ้นพร้อมกับการเข้ามาของสถาปัตยกรรมแบบสมัยใหม่หรือโมเดิร์น รวมทั้งการก่อสร้างแบบคอนกรีตเสริมเหล็ก อาคารในยุคนี้ได้เปลี่ยนรูปแบบหน้าต่างเป็นทรงเรขาคณิตทั้งวงกลมและสี่เหลี่ยม มีการใช้กระจกสีประดับตกแต่ง ในช่วงแรกมีการผสมผสานระหว่างรูปแบบของอาร์ต เดโค กับนิโอคลาสสิก คือใช้หน้าต่างด้วยลวดลายกรีกหรือโรมันคลาสสิก ในช่วงหลังมีการทำระเบียงยื่นจากชั้นบนตกแต่งด้วยเรขาคณิตเป็นหลัก



ด้านล่างนี้เป็นลิ้งค์ของ Penang shophouse style ซึ่งเป็นสถาปัตยกรรมแบบชิโนโปรตุกีส Timelineมีความใกล้เคียงกัน ซึ่งก็คือช่วงอาณานิคม



รูปแบบอาคารชิโนโปรตุกีส
รูปแบบสถาปัตยกรรมแบบชิโน-โปรตุกีส แบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ  
ตึกแถว(เตี้ยมฉู่)
ตึกแถว ส่วนใหญ่มีสองชั้น เป็นร้านค้ากึ่งที่อยู่อาศัย หน้าแคบแต่ลึก นิยมจัดแบ่งพื้นที่ใช้สอยออกเป็นห้าส่วน เริ่มจากด้านหน้าเป็นสำนักงานหรือร้านค้า ถัดเข้าไปจะพบห้องรับแขก ห้องพักผ่อน ห้องอาหาร และห้องครัว ตามลำดับ ส่วนชั้นสองจะเป็นห้องนอน

คฤหาสน์(อั่งม้อหลาว)
อั่งม้อหลาวเป็นภาษาจีนฮกเกี้ยน "อั่งม้อ" แปลว่า ฝรั่ง หรือชาวต่างชาติ ส่วนคำว่า "หลาว" แปลว่า ตึกคอนกรีต อั่งม้อหลาว ก็คือคฤหาสน์แบบฝรั่งที่นายหัวเหมืองแร่ของ ภูเก็ตสร้างเป็นที่อยู่อาศัยในสมัยนั้นโดยบ้านหลังแรกที่สร้างขึ้นตามแบบชิโน-โปรตุกีส โดยช่างชาวจีนจากปีนัง ก็คือ บ้านชินประชาของพระพิทักษ์ ชินประชา นายเหมืองต้นตระกูลตัณฑวนิชตั้งอยู่ถนนกระบี่ ถือว่าเป็นต้น แบบของบ้านคหบดีจีนที่กระจายอยู่ทั่วทั้งเมืองภูเก็ต


ลักษณะเด่นของอาคารรูปแบบชิโนโปรตุกีส
-เป็นตึกแถวสองชั้น ที่แบ่งพื้นที่ใช้สอยไปตามความลึกของอาคาร
-ถ้าเป็นอาคารแบบ shop house ด้านหน้าของอาคารจะมีรูปแบบของอาร์ช (arch) ต่อเนื่องกันเป็นทางเดิน ซึ่งในภาษาจีนเรียกว่า หง่อคาขี่ หรือ arcade นั่นเอง
-จิ้มแจ้ ช่องแสงหรือชาวบ้านทั่วไปเรียกว่า จิ้มแจ้ เป็นลานเอนกประสงค์ คือ บริเวณซักล้าง เป็นช่องระบายอากาศ ทำให้บ้านสว่าง หรือใช้เป็นบริเวณผักผ่อนก็ได้
-รูปแบบของอาคารได้รับมาจากทางตะวันตก แต่การตกแต่งไปจนถึงลวดลายต่างๆนั้นมาจากฝีมือและประสบการณ์ของชาวจีน ทำให้เกิดความผสมผสาน

ความแตกต่างระหว่างชิโนโปรตุกีส ขนมปังขิง และโคโลเนียล
ความแตกต่างระหว่างทั้งสามอันนี้ก็คือในส่วนแรกชิโนโปรตุกีสนั้นเป็นงานผสมผสานกันระหว่างอาคารแบบโปรตุเกสแล ะลวดลายแบบจีน รูปร่างของอาคารส่วนใหญ่ที่รู้จักกันดีก็จะเป็นตึกแถว หรือไม่ก็คฤหาสน์ ส่วนขนมปังขิงนั้นจะเน้นที่การฉลุลาดลายของพืชพรรณต่างๆลงบนส่วนประกอบของอาคารเช่น การฉลุลายในส่วนของหน้าจั่ว ชายคา เป็นต้น สุดท้ายคือโคโลเนียล ซึ่งเป็นรูปแบบที่มีความหลากหลายมาก เนื่องจากในยุคอาณานิคม ประเทศที่มีอำนาจก็อยากที่จะขยายอาณาเขตของตน ทำให้มีอาคารรูปแบบตะวันตกเกิดขึ้นตามเมืองอาณานิคมต่างๆ ประเทศมหาอำนาจในตอนนั้นก็คือ อังกฤษ ฝรั่งเศส สเปน เป็นต้น

ตัวอย่างอาคาร






พิพิธภัณฑ์ภูเก็ตไทยหัว อยู่บริเวณถนนกระบี่ สมัยก่อนเคยเป็นโรงเรียนที่เจ้านาย และนายเหมืองในภูเก็ตร่วมกันออกทุนสร้าง ให้ลูกหลานมีที่เรียนแล้วจ้างครูมาสอน



ถนนถลางและซอยรมณีย์
เป็นถนนสายประวิติศาสตร์อันเก่าแก่ ตรงช่วงนี้จะมีอาคารตึกแถวเก่าที่มีรูปแบบเดิมๆเกาะกลุ่มกันอยู่เป็นจำนวนมากโดยมีจุดเด่นอยู่ตรงที่มีการเปิด ช่องทางเดินเอาไว้เหมือนในอดีต ซึ่งเส้นทางนี้เริ่มต้นจากสี่แยกถ.ถลางตัดกับถ.ภูเก็ตไปจนสุดสี่แยกตัดกับ ถ.เยาวราช มีตึกแถวกว่า 151 คูหาโดยมีตึกแถวที่น่าสนใจตรงช่วงตึกแถวบ้านเลขที่ 107 ถึง 129 ที่ตัวตึกมี รูปแบบการตกแต่งช่องหน้าต่างโค้งตามแบบสถาปัตยกรรมยุคนีโอคลาสสิค มีลวดลายที่ดงามเน้นธรรมชาติเถาไม้ ใบไม้ และรูปสัตว์ และก็มีตึกแถวตรงฝั่งเลขคู่ช่วงปลายถนน ซึ่งตึกแถวบริเวณนี้มีลักษณะเด่นอยู่ที่ประตูด้านหน้า เป็นแบบบานเฟี้ยมไม้เก่าแก่ ช่วงเสาจะกว้างเท่ากับตึก 2 คูหารวมกัน มีการนำศิลปะการเจาะช่องหน้าต่างและ ลวดลายปูนปั้นแบบอาร์ตเดโคมาใช้ได้อย่างกลมกลืนและสวยงาม



บ้านหลวงอนุภาษภูเก็ตการ ซึ่งเป็นบ้านที่สร้างในสมัยร. 7 ด้านหน้า อาคารเป็นรูปโค้งครึ่งวงกลมกลมขนาดใหญ่ที่รถยนต์เข้าไปจอดเทียบได้ ชั้นล่างเป็นซุ้มโค้งเตี้ย 3 โค้ง หัวเสา จะเป็นแบบดอริก ผนังเซาะเป็นร่องลึก คล้ายแนวหินก่อ ชั้นบนเป็นระเบียง มีลูกกรงปูนปั้นประดับ หลังคาทรง ปั้นหยา ด้านปีกซ้ายมีช่องแสงเป็นรูปโค้งครึ่งวงกลมประดับด้วยบานเกล็ดไม้ ด้านปีกขวาตกแต่งช่องแสงด้วย กระจกสีต่างๆ กรุในกรอบสี่เหลี่ยมมีรูปวงกลมอยู่ข้างใน
แผนที่แสดงตำแหน่งของอาคารที่น่าสนใจในจังหวัด ภูเก็ต

แหล่งอ้างอิง
เป็นต้น



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น